การติดตั้งและใช้งานระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์
การติดตั้งและใช้งานระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์
การติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ข้อมูล หรือทรัพยากรร่วมกันได้ตลอดจนประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งระบบเครือข่ายส่วนใหญ่จะเป็นระบบ เครือข่ายอีเทอร์เน็ตแบบสตาร์ทำงานในลักษณะเวิร์คกรุ๊ป โดยใช้โพรโตรคอล TCP/IP เป็นหลัก การทำงานบนโพรโตรคอล TCP/IP จะต้องกำหนด IP Address เป็นหมายเลขประจำให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ บนเครือข่าย โดยหมายเลขที่กำหนดจะต้องไม่ซ้ำกัน รายละเอียด ดังนี้
1 IP Address
ไอพีแอดเดรสเป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อ อยู่ในเครือข่าย เพื่อใช้ระบุที่อยู่หรือตำแหน่งของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โดยไม่ซ้ำกัน ทำให้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารหรือรับส่งข้อมูลได้ ไอพีแอดเดรสมีลักษณะเป็น ตัวเลข 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 192.160.1.22
ไอพีแอดเดรสประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ Network ID กับ Host ID สำหรับ Network ID เป็นตัวบอกขอบเขตของเครือข่าย โดยไอพีแอดเดรสที่มี Network ID เหมือนกัน หมายความว่าอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ส่วน Host ID เป็นตัวกำหนดที่อยู่หรือตำแหน่งของ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นั้นๆ เช่น คอมพิวเตอร์สองเครื่องถูกกำหนดไอพีแอดเดรสในคลาส C ซึ่ง เครื่องที่หนึ่งมีไอพีแอดเดรส 192.168.10.1
IP Address จะแบ่งเป็นคลาส
ในส่วนของซับเน็ตมาสก์
เป็นค่าที่ระบุว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้อยู่ในเครือข่ายใด หรือเป็นค่าที่ แบ่งกลุ่มเครือข่ายโดยตรงสอดคล้องกับคลาสของไอพีแอดเดรส ซับเน็ตมาสก์จะเป็นตัวเลข 4 ชุด เช่นเดียวกับไอพีแอดเดรสแต่มีค่าเป็น 0 กับ 255 เท่านั้น (แต่บางกรณีก็เป็นค่าอื่นได้ เมื่อถูกแบ่งซับเน็ต) ซับเน็ตมาสก์มีการแบ่งไว้สำหรับไอพีแอดเดรสทั้ง 3 คลาส ดังตาราง
2 การแบ่งซับเน็ต
ในการใช้งานจริงบนระบบเครือข่าย บางครั้งอาจต้องแบ่งเครือข่ายออกให้เป็น เครือข่ายย่อย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือ
ข่าย และป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกส่งไปยังหน่วยงานอื่น หรือลดการกระจายข้อมูลในเครือข่ายให้น้อยลง (Broadcast) เช่น ถ้าได้รับไอ พีแอดเดรสคลาส C ชุด192.168.1.0 มาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และกำหนดให้กับ คอมพิวเตอร์ในองค์กร ประกอบด้วยแผนกบัญชีที่มีคอมพิวเตอร์จำนวน 20 เครื่อง แผนกบุคคลมี คอมพิวเตอร์จำนวน 10 เครื่อง โดยเราจะแจกจ่ายไอพีแอดเดรสให้กับแต่ละแผนกในลักษณะที่จะแยกเครือข่ายออกจากกัน ซึ่งแน่นอนว่าไอพีแอดเดรสคลาส C ที่ได้นั้นไม่เพียงพอที่จะแจกให้กับ คอมพิวเตอร์ในองค์กร (คือใช้ได้ตั้งแต่หมายเลข 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.254) แต่จุดประสงค์ คือต้องการจะแยกเครือข่ายออกอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งเครือข่ายโดยใช้การแบ่งไอพี แอดเดรสในคลาสเดียวกันออก เรียกว่าการแบ่งซับเน็ต โดยมีวิธียืมค่าบิตของ Host ID มาทำเป็น ซับเน็ต ส่วนสิ่งที่ตามมาภายหลังแบ่งซับเน็ตคือตัวเลขซับเน็ตมาสก์จะเปลี่ยนไปเพราะขนาดของ เครือข่ายถูกแบ่งออกตัวอย่างการแบ่งซับเน็ตของไอพีแอดเดรสหมายเลขเครือข่าย 192.168.1.0 ได้ ในตาราง
การใช้งานเครือข่าย
1 ระบบเครือข่ายแบบแลน
รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.1 โทโปโลยีรูปดาว (Star)
เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมดทั้งภายใน นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลาย ๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้
1.2 โทโปโลยีรูปวงแหวน (Ring)
เครือข่ายแบบ RING เป็นการข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
credit https://kruthipakorn.wordpress.com/2011/11/20
https://sites.google.com/a/banbung.ac.th/nantawat/install-network
การติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ข้อมูล หรือทรัพยากรร่วมกันได้ตลอดจนประโยชน์ด้านอื่นๆ ซึ่งระบบเครือข่ายส่วนใหญ่จะเป็นระบบ เครือข่ายอีเทอร์เน็ตแบบสตาร์ทำงานในลักษณะเวิร์คกรุ๊ป โดยใช้โพรโตรคอล TCP/IP เป็นหลัก การทำงานบนโพรโตรคอล TCP/IP จะต้องกำหนด IP Address เป็นหมายเลขประจำให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ บนเครือข่าย โดยหมายเลขที่กำหนดจะต้องไม่ซ้ำกัน รายละเอียด ดังนี้
1 IP Address
ไอพีแอดเดรสเป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อ อยู่ในเครือข่าย เพื่อใช้ระบุที่อยู่หรือตำแหน่งของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โดยไม่ซ้ำกัน ทำให้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารหรือรับส่งข้อมูลได้ ไอพีแอดเดรสมีลักษณะเป็น ตัวเลข 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 192.160.1.22
ไอพีแอดเดรสประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ Network ID กับ Host ID สำหรับ Network ID เป็นตัวบอกขอบเขตของเครือข่าย โดยไอพีแอดเดรสที่มี Network ID เหมือนกัน หมายความว่าอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ส่วน Host ID เป็นตัวกำหนดที่อยู่หรือตำแหน่งของ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์นั้นๆ เช่น คอมพิวเตอร์สองเครื่องถูกกำหนดไอพีแอดเดรสในคลาส C ซึ่ง เครื่องที่หนึ่งมีไอพีแอดเดรส 192.168.10.1
IP Address จะแบ่งเป็นคลาส
ในส่วนของซับเน็ตมาสก์
เป็นค่าที่ระบุว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้อยู่ในเครือข่ายใด หรือเป็นค่าที่ แบ่งกลุ่มเครือข่ายโดยตรงสอดคล้องกับคลาสของไอพีแอดเดรส ซับเน็ตมาสก์จะเป็นตัวเลข 4 ชุด เช่นเดียวกับไอพีแอดเดรสแต่มีค่าเป็น 0 กับ 255 เท่านั้น (แต่บางกรณีก็เป็นค่าอื่นได้ เมื่อถูกแบ่งซับเน็ต) ซับเน็ตมาสก์มีการแบ่งไว้สำหรับไอพีแอดเดรสทั้ง 3 คลาส ดังตาราง
2 การแบ่งซับเน็ต
ในการใช้งานจริงบนระบบเครือข่าย บางครั้งอาจต้องแบ่งเครือข่ายออกให้เป็น เครือข่ายย่อย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือ
ข่าย และป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกส่งไปยังหน่วยงานอื่น หรือลดการกระจายข้อมูลในเครือข่ายให้น้อยลง (Broadcast) เช่น ถ้าได้รับไอ พีแอดเดรสคลาส C ชุด192.168.1.0 มาจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และกำหนดให้กับ คอมพิวเตอร์ในองค์กร ประกอบด้วยแผนกบัญชีที่มีคอมพิวเตอร์จำนวน 20 เครื่อง แผนกบุคคลมี คอมพิวเตอร์จำนวน 10 เครื่อง โดยเราจะแจกจ่ายไอพีแอดเดรสให้กับแต่ละแผนกในลักษณะที่จะแยกเครือข่ายออกจากกัน ซึ่งแน่นอนว่าไอพีแอดเดรสคลาส C ที่ได้นั้นไม่เพียงพอที่จะแจกให้กับ คอมพิวเตอร์ในองค์กร (คือใช้ได้ตั้งแต่หมายเลข 192.168.1.1 ถึง 192.168.1.254) แต่จุดประสงค์ คือต้องการจะแยกเครือข่ายออกอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งเครือข่ายโดยใช้การแบ่งไอพี แอดเดรสในคลาสเดียวกันออก เรียกว่าการแบ่งซับเน็ต โดยมีวิธียืมค่าบิตของ Host ID มาทำเป็น ซับเน็ต ส่วนสิ่งที่ตามมาภายหลังแบ่งซับเน็ตคือตัวเลขซับเน็ตมาสก์จะเปลี่ยนไปเพราะขนาดของ เครือข่ายถูกแบ่งออกตัวอย่างการแบ่งซับเน็ตของไอพีแอดเดรสหมายเลขเครือข่าย 192.168.1.0 ได้ ในตาราง
การใช้งานเครือข่าย
1 ระบบเครือข่ายแบบแลน
รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.1 โทโปโลยีรูปดาว (Star)
เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมดทั้งภายใน นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลาย ๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้
1.2 โทโปโลยีรูปวงแหวน (Ring)
เครือข่ายแบบ RING เป็นการข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
credit https://kruthipakorn.wordpress.com/2011/11/20
https://sites.google.com/a/banbung.ac.th/nantawat/install-network
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น